วันอังคารที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2552

อ่านแล้ว...คิดตาม


"เด็กเปรียบเสมือนผ้าขาว...
แต่ไม่ใช่ไวทย์บอร์ดที่เราจะเขียนอะไรเติมอะไรจนรกไปหมด
ให้เขาได้ออกความเห็นได้คิดเองและกล้าตัดสินใจ
เลือกทางเดินที่เขาอยากทำสิ่งนั้นเอง
จะทำให้เขาเป็นผู้ใหญ่ที่เก่งในอนาคต"

วันอาทิตย์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2552

วันศุกร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2552

สมองดีเพราะมีจินตนาการ


สมองดีเพราะมีจินตนาการโดย: อรุณเบิกฟ้า
เทคนิคพัฒนาสมองลูก ..แค่ดูแลจินตนาการของลูกไม่ให้หดหาย
ใครๆ ก็อยากให้ลูกเป็นเด็กมีจินตนาการกันทั้งนั้น ถ้าถามว่าทำไม อาจจะมีหลายเหตุผล บางคนบอกว่าจะทำให้เขามีความคิดสร้างสรรค์ บ้างก็ว่าทำให้เขาเป็นเด็กมีความสุข แต่จริงๆ จินตนาการมีข้อดีมากกว่านั้นอีกค่ะ
จินตนาการมีส่วนช่วยพัฒนาสมอง
ส่วนใหญ่ เรามักเชื่อกันว่าเด็กสมองดี จะเป็นเด็กที่มีจินตนาการดี แต่ในทางกลับกัน ผศ.น.พ.ชาตรี วิฑูรชาติ อาจารย์
"น้องขิม อายุ 3 ขวบ กับกิจกรรมวันแม่" หน่วยจิตเวชเด็ก ภาควิชากุมาร คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาลบอกว่าจินตนาการต่างหากที่เป็นฝ่ายสร้างสมอง โดยเฉพาะในวัยเด็ก การเลี้ยงดูที่ส่งเสริมจินตนาการจะทำให้สมองพัฒนาได้ดี
เมื่อสมองดีแล้ว ถึงจะนำไปสู่จินตนาการ ความคิดสร้างสรรค์ และสติปัญญาที่ดีเป็นลำดับต่อมา คุณหมออธิบายเรื่องการทำงานของสมองให้ฟังอย่างละเอียดยิบเลยค่ะ ถึงได้รู้ว่าเด็กทารกน่ะเกิดมาพร้อมกับเซลล์สมองตั้ง 100,000 ล้านเซลล์แน่ะ! ซึ่งจะไม่พัฒนาเพิ่มจำนวนขึ้นอีกแล้ว มีแต่จะลดลงเรื่อยๆ จนเป็นผู้ใหญ่แบบเราๆ ก็เหลือแค่ 50,000 ล้านเซลล์เท่านั้นเอง ...เอ๊ะ! แปลว่าเราโง่ลงหรือเปล่า? ไม่หรอกค่ะ เพราะสมองจะดีหรือไม่ ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนเซลล์เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับการเชื่อมต่อของปลายประสาทต่างๆ อีกด้วย เด็กแรกเกิด เซลล์สมอง 1 เซลล์จะแตกกิ่งก้านสาขาอีกเป็นร้อยเป็นพันไปเกาะเกี่ยวกับเซลล์สมองอื่นๆ ทำให้เกิดการโยงใยเป็นเครือข่าย ทำงานประสานกัน (เหมือนชุมสายโทรศัพท์) ซึ่งการเชื่อมต่อประสานปลายประสาทเหล่านี้ ยิ่งมีมากก็ยิ่งดี เพราะเป็นตัวที่จะชี้ว่าเซลล์สมองมีสมรรถภาพดีมากน้อยแค่ไหน ในช่วง 3 ปีแรกของชีวิต เซลล์สมองจะมีการพัฒนาอย่างรวดเร็ว จนถึงอายุ 3 ขวบ สมองก็พัฒนาไปกว่า 80% แล้วค่ะ หลังจากนี้ก็จะชะลอลงเรื่อย ๆ จนถึงอายุประมาณ 10 ขวบ ก็ถือว่าเติบโตเต็มที่ ไม่พัฒนาอีกแล้ว ฉะนั้นพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ในวัย 7-9 นี้จะเรียกว่าเป็นโค้งสุดท้ายก็ย่อมได้ ดังนั้น ในช่วงที่ลูกอายุไม่เกิน 3 ขวบ หน้าที่ของพ่อแม่ก็คือทำให้เซลล์สมองได้เติบโตอย่างเต็มที่ แต่หลังจาก 3 ขวบเป็นต้นไปต้องเน้นที่การรักษาเซลล์สมองให้คงอยู่ และทำให้ปลายประสาทแตกกิ่งก้านสาขาและเชื่อมต่อกันมากยิ่งขึ้น เซลล์สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายนั่นแหละค่ะ ส่วนไหนถูกใช้งานก็จะเติบโต แต่ถ้าไม่ถูกใช้เลยก็จะฝ่อและจะถูกเม็ดเลือดขาวจับกินหมด ซึ่งการใช้งานในที่นี้ก็คือการถูกกระตุ้นประสาทสัมผัสทั้ง 5 โดยผ่านกิจกรรมและประสบการณ์ต่างๆ ซึ่งจะเป็นอะไรบ้างนั้น เอาไว้ไปว่ากันอย่างละเอียดทีหลังค่ะ ไปดูประโยชน์ของจินตนาการกันอีกเรื่องก่อน
จินตนาการทำให้เกิดความสุขในชีวิต เด็กๆ จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขน่ะ ฉลาดอย่างเดียวไม่พอค่ะ ต้องมีจินตนาการด้วย อย่างแรกเลยก็คือ จินตนาการทำให้เขาไม่จนมุมกับปัญหา พ.ญ.พรรณพิมล หล่อตระกูล นายแพทย์ใหญ่ประจำกรมสุขภาพจิต ยกตัวอย่างให้ฟังอย่างนี้ค่ะ
สมมติว่าลูกเราต้องไปงานวันเกิดเพื่อนในอีก 2 ชั่วโมงข้างหน้า ของขวัญก็เตรียมไว้อย่างดีแล้ว แต่ที่บ้านไม่มีกระดาษห่อของขวัญเลยสักแผ่นเดียว หาซื้อก็ไม่ทันเสียด้วย สถานการณ์แบบนี้จะทำยังไงดีคะ?
ถ้าไม่มีจินตนาการ เขาจะรู้สึกทุกข์ใจอย่างมาก ถ้าจะต้องไปงานโดยถือของขวัญที่ไม่ได้ห่ออยู่คนเดียว แต่ถ้ามีจินตนาการ เขาจะมีวิธีการแก้ปัญหาได้มากมายเลยค่ะ กระดาษห่อของขวัญที่มีโบอยู่ข้างบน ก็จะไม่จำเป็นกับชีวิตเขาอีกต่อไป เพราะเขาสามารถหาอะไรก็ได้มาใช้ห่อของขวัญ
พ่อแม่ก็เป็นส่วนสำคัญที่จะส่งเสริมให้เขาได้จินตนาการด้วยค่ะ โดยกระตุ้นให้เขาคิดว่าจะทำอย่างไร ให้โอกาสเขาหาคำตอบด้วยตัวเอง ด้วยมุมมองที่ต่างไปจากเดิม เพราะปัญหาต่าง ๆ ในชีวิต ไม่มีสูตรสำเร็จในการแก้ไขค่ะ และเมื่อเขาคิดได้ ก็ไม่ใช่ว่า... "ลูกทำอะไรเนี่ย ไม่เห็นสวยเลย"
แบบนั้นน่ะ จินตนาการจะฝ่อลงทันทีเลยเชียว และเมื่อเด็กๆ เติบโตขึ้น ต้องเผชิญกับปัญหาต่างๆ ในชีวิต เขาก็จะไม่พูดคำว่า “จนมุม” เพราะสำหรับเขาแล้ว ในชีวิตยังมีมุมอีกมากมาย ทางแก้ปัญหาจะไม่ได้มีแค่ทางเดียว แต่จะมีเป็นร้อยเป็นพัน เพราะจินตนาการทำให้เขามีวิธีคิดที่ยืดหยุ่น ไม่ยึดติดอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่ง และจินตนาการยังช่วยพาให้คนพ้นไปจากความเป็นจริงบางอย่างในชีวิตที่ตึงเครียดและกดดัน นึกถึงเวลาเครียดๆ เหนื่อยๆ แล้วได้นอนคิดฝันถึงเรื่องนั้นเรื่องนี้ มันก็รู้สึกดีขึ้นมานิดหนึ่งไม่ใช่แล้วหรือคะ? แค่ 2 ข้อนี้ ก็เหลือเฟือแล้วล่ะค่ะ แต่นอกจากนั้น จินตนาการก็ยังนำไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ประดิษฐกรรมหลายๆ อย่างในโลก มันก็คือผลพวงจากจินตนาการของคนยุคก่อนหน้าเราทั้งนั้น การฝึกให้ลูกคิดต่างน่ะ จะทำให้เราได้อะไรใหม่ๆ นอกเหนือไปจากสิ่งที่คนอื่นเขาคิดมาก่อนหน้าแล้วด้วยนะคะ ทำอย่างไรให้ลูกมีจินตนาการ ถ้าอยากสร้างให้ลูกมีจินตนาการล่ะก็ อันดับแรก พ่อแม่ต้องเชื่อก่อนว่าตัวเองก็มีจินตนาการเหมือนกัน เพราะเราเห็นเด็กทุกคนมีจินตนาการมากมาย แต่พอโตเป็นผู้ใหญ่ หลาย ๆ คนกลับทำจินตนาการหล่นหายไประหว่างทาง กลายเป็นพ่อเป็นแม่ที่เคร่งขรึม เอาจริงเอาจัง อ.ชีวัน วิสาสะ คุณพ่อนักเล่านิทานและเขียนภาพประกอบ แอบกระซิบเคล็ดลับให้ว่าพ่อแม่ต้องกล้าที่จะเอาจินตนาการของตัวเองออกมาใช้ก่อนค่ะ เราถึงจะมีวิธีรับมือกับจินตนาการของลูก และมีวิธีเลี้ยงลูกโดยเสริมสร้างจินตนาการของเขา ถอดฟอร์มของผู้ใหญ่ที่น่าเคารพยำเกรงออกสักระยะ แล้วดึงความเป็นเด็กในตัวเราออกมาให้เด็กๆ ได้เห็นว่าเราเป็นพวกเดียวกับเขา แล้วมันถึงจะเกิดบรรยากาศที่ทุกๆ คนได้สนุกไปด้วยกัน อาจจะอ่านหนังสือด้วยกัน ทำงานศิลปะด้วยกัน พูดคุยกัน หรือพาลูกไปสู่ประสบการณ์ใหม่ๆ ให้เขาได้สัมผัสกับธรรมชาติ ดูต้นไม้ใบหญ้า ดูนก ดูแมลงแปลกๆ สิ่งเหล่านี้จะส่งเสริมให้เขามีจินตนาการกว้างไกลขึ้น
พ่อแม่หลายคนอาจจะกังวลว่า เอ...แล้วถ้าวาดรูปไม่เป็น เล่านิทานไม่เก่ง จะสร้างจินตนาการให้ลูกได้อย่างไร แต่อย่าลืมว่าเราทุกคนต่างก็เคยเป็นเด็กที่มีจินตนาการกันมาก่อนทั้งนั้น เมื่อสิ่งนี้มีอยู่ในตัวเราและตัวลูก ทุกกิจกรรม...ทุกนาทีของชีวิตที่เราได้อยู่ด้วยกัน จินตนาการมันจะมาเองโดยธรรมชาติค่ะ จะนอนดูก้อนเมฆ ตั้งชื่อแมลง หรือไล่จับพระจันทร์ มันก็เกิดจินตนาการได้ทั้งนั้น เชื่อไหมว่า...เด็กๆ อยากฟังนิทานจากเรามากกว่าดูการ์ตูนที่สนุกที่สุดในโลกเสียอีก เพราะนิทานเรื่องนั้น กับเวลาช่วงนั้นมันเป็นสิทธิพิเศษของเขาโดยเฉพาะคนเดียว จินตนาการมากไป...อันตรายหรือเปล่า โดยวัยและความไร้เดียงสาของเด็กๆ จินตนาการส่วนใหญ่จะเป็นไปในทางที่ดีงามแทบทั้งนั้น อาจจะมีบ้างที่เป็นความคิดแผลงๆ ซึ่งอาจจะไปกระทบกระเทือนความสุขของคนอื่น เช่น การทรมานสัตว์ (ซึ่งในสายตาของเขาอาจจะเป็นแค่การอยากรู้อยากลองเท่านั้นเอง) ตรงนี้ พ่อแม่จะทำอย่างไร ถ้าห้ามจะถือว่าจำกัดจินตนาการของลูกหรือไม่? คุณหมอพรรณพิมลเฉลยว่า "ในชีวิตจริง พฤติกรรมนำมาซึ่งผล พฤติกรรมจึงต้องมีกรอบ และกรอบที่แน่นอนก็คือกรอบคุณธรรม ซึ่งไม่เคยเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา เวลาที่เราสอนลูกเรื่องพฤติกรรมจึงไม่ใช่การจำกัดจินตนาการค่ะเพราะมันเป็นคนละส่วนกัน พอออกจากนิทาน เราก็ทำหน้าที่ของพ่อแม่ ซึ่งเด็ก ๆ ก็รับรู้ เข้าใจได้ มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเลี้ยงลูกโดยไม่มีกรอบเลย "ซึ่งถ้าปล่อยให้เด็กเกิดจินตนาการทางลบซ้ำๆ เขาอาจจะทำขึ้นมาได้ในวันหนึ่ง ซึ่งของแบบนี้ พ่อแม่สังเกตเห็นได้ตั้งแต่เนิ่นๆ เพราะเขาจะถ่ายทอดออกมาทางคำพูด การเขียน ภาพวาด งานประดิษฐ์ แต่ขึ้นอยู่กับว่าพ่อแม่มีเวลาใกล้ชิดเขามากพอที่จะมองเห็นทันหรือเปล่า" อ้อ! แล้วก็ต้องไม่ลืมว่า เด็กๆ จำเป็นต้องมีเวลามากพอที่จะได้อยู่กับจินตนาการด้วยค่ะ อย่าปล่อยให้เขาอยู่แต่กับเกมกับทีวีมากเกินไป (ของพวกนั้นน่ะ ใช้จินตนาการน้อยมากกก...) แต่การจะดึงเด็กออกมา พ่อแม่ก็ต้องหาอะไรชดเชยให้เขาด้วย จะเลี้ยงลูกโดยไม่ลงทุนอะไรเลย เป็นไปไม่ได้ค่ะ

วันอังคารที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2552

งานครั้งที่ 1

วิชาการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับผู้บริหาร (1061601)
(Information Technology Management for Administrators)
สอนโดยอาจารย์ปรมัตถ์ปัญปรัชญ์ ต้องประสงค์
ใบงานครั้งที่ 1
ข้อที่ 2ประวัติส่วนตัว
ชื่อ :นางกัญติมาภรณ์ อัปมะให
เกิด : 28 ธันวาคม 2520
อาชีพ : รับราชการ
ตำแหน่ง : นักวิชาการศึกษา
สถานที่ทำงาน : องค์การบริหารส่วนตำบลเหมือง อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์ : 0-3838-9224-5 ,0-8358-6997-1
โทรสาร : 0-3838-9223
E-mail : nupim.2520@hotmail.com nupim.2520@yahoo.co.th
จบการศึกษา : ครุศาสตรบัณฑิต สาขาคณิตศาสตร์
กำลังศึกษา : ปริญญาโทศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาบริหารการศึกษา
สถานภาพ : สมรส มีบุตร 1 คน
ที่อยู่ที่สามารถติดต่อได้ : 9/109 ถนนบางแสนสาย 2 ตำบลแสนสุข อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี 20130
ข้อที่ 3 ให้นักศึกษาตอบคำถามต่อไปนี้
3.1 ความรู้ที่นักศึกษาได้รับจากการเรียนในครั้งนี้โดยสรุป
ตอบ - ได้เข้าใจเกี่ยวกับระบบสารสนเทศและความสำคัญของการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้งานมากยิ่งขึ้น
- มีความรู้เกี่ยวกับระบบสารสนเทศที่ใช้ในการบริหารจัดการองค์กรให้เกิดประโยชน์สูงสุดและตรงตามความต้องการ
- มีความรู้เกี่ยวกับการสืบค้นข้อมูลด้วยระบบอินเตอร์เน็ต (Internet)
- ได้สมัครใช้งาน Fee e-mail ของ gmail
- มีความรู้เกี่ยวกับการจัดทำเว็บ และได้จัดทำเว็บส่วนตัวเพื่อใช้ประกอบการศึกษา
3.2 ประโยชน์ที่มีของระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต(Internet) ต่อกระบวนการบริหารจัดการศึกษา
ตอบ - ช่วยลดความเหลื่อมล้ำของโอกาสทางการศึกษา
- ช่วยสร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา
- เป็นเครื่องมือในการเข้าถึงการเรียนรู้และแหล่งเรียนรู้ที่มีคุณภาพอย่างกว้างขวางทั่วถึง และเท่าเทียมกัน
- ช่วยพัฒนาระบบการบริหารจัดการสถานศึกษาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
- ช่วยพัฒนากระบวนการจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธภาพ มีความเท่าเทียมกัน มีความทันสมัยมากยิ่งขึ้น และจัดได้อย่างทั่วถึง
3.3 เปรียบเทียบข้อดีข้อเสียของการใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต เมื่อเทียบกับการติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ตอบ - การใช้โปรแกรมประยุกต์บนอินเตอร์เน็ต
ข้อดี 1.มีขอบข่ายในการทำงานที่กว้างขวาง สามารถสืบค้นข้อมูลที่หลากหลาย ได้อย่างรวดเร็ว
2.สามรถติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่นได้อย่างสะดวก รวดเร็ว
3.ประหยัดค่าใช้จ่ายในการติดตั้ง
ข้อเสีย 1. หากระบบเครือข่ายตัวแม่ (Sever )มีปัญหาจะไม่สามารถทำงานได้
2. ไม่สามารถใช้งานได้กับทุกพื้นที่ อาจมีการสดุดหรือติดขัด
3. โปรแกรมมีข้อจำกัดในการใช้งาน
- การติดตั้งโปรแกรมใช้งานบนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล
ข้อดี 1. สะดวกในการใช้โปรแกรม และสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาตามความต้องการ
2.ใช้โปรแกรมได้สะดวกรวดเร็วไม่สะดุดหรือติดขัด
3.ไม่ต้องอาศัยระบบเครือข่ายตัวแม่ (Sever )
ข้อเสีย 1. มีขอบข่ายในใช้งานที่จำกัด
2. ไม่สามารถติดต่อ แลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอื่นได้อย่างสะดวก
3. มีค่าใช้จ่ายสูงในการติคตั้งโปรแกรม
4.ต้องทำการอัปเดรตบ่อย ๆ เพื่อให้โปรแกรมทันสมัย